วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 17

วันอังคาร ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2555

- อาจารย์ได้ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ  Tablet ลงในแผ่นกระดาษ และได้ให้นักษาร่วมกันอภิปรายแสดงความคิดเห็น
- อาจารย์บอกแนวข้อสอบ
- อาจารย์ตรวจบล๊อกเกอร์

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 16


วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2555

- อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนองานการจัดกิจกรรมที่โรงเรียนสาธิตจันทรเกษมและบอกถึงข้อผิดพลาดเพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไข

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15


วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555

- วันนี้ไปจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ที่โรงเรียนสาธิตจันทรเกษมจัดกิจกรรมทดลองวิทยาศาสตร์ที่โรงเรียนอนุบาลสาธิตจันทรเกษม

เรื่อง ลาวาแลมป์

แนวคิด
น้ำกับน้ำมันเป็นสิ่งที่เข้ากันไม่ได้ ถึงแม้จะใส่เม็ดฟู่ลงไปเกิดฟองดันขึ้นมาอยู่บนน้ำมันแต่เมื่อแก๊สของเม็ดฟู่หมดลงน้ำก็ลงไปเช่นเดิม

อุปกรณ์
1. น้ำมัน
2. น้ำ
3. ยาเม็ดฟู่
4. เหยือกแก้ว
5. สีผสมอาหาร

ขั้นตอนการทดลอง
1. เทน้ำที่ผสมสีลงไปในเหยือกแล้วก็เทน้ำมันลงไป จะเห็นได้ว่าน้ำกับน้ำมันจะอยู่คนละชั้นกัน
2. ใส่ยาเม็ดฟู่ลงไป สังเกตผล เกิดฟองดันขึ้นมาอยู่บนน้ำมัน คล้ายกับลาวาแลมป์

สรุปผลการทดลอง
เมื่อใส่ยาเม็ดฟู่ลงไปแก๊สจากยาเม็ดฟู่จะทำให้เกิดฟองขึ้นมาอยู่บนน้ำมัน



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14


วันอังคารที่  4 กันยายน พ.ศ. 2555

- อาจารย์ให้นักศึกษานำป้ายนิเทศน์ที่ทำมาส่ง และร่วมกันเสนอความคิดเห็น เพื่อนำไปแก้ไขพัฒนาปรับปรุงต่อไป
 
- อาจารย์ให้ส่งสมุดวิธีการพับดอกไม้ส่งบอร์ดและวิเคราะห์การทำบอร์ดของแต่ละกลุ่ม

กลุ่มที่1 ดอกไม้ใหญ่เกินไปทำให้ไม่มีพื้นที่ใส่ข้อมูล
กลุ่มที่2 องค์ประกอบไม่เหมาะสม
กลุ่มที่3 ดอกไม้แต่ละดอกต้องมีใบเพื่อความสมดุล
กลุ่มที่4 สวยงามมีความเหมาะสม สมดุล
กลุ่มที่5 ต้องใส่ใบ
กลุ่มที่6 ไม่ได้ทำตามที่อบรมมา
กลุ่มที่7 เพิ่มใบโทนสีให้เข้ากัน ไล่ระดับของขนาดดอกไม้
กลุ่มที่8 ความสมดุลไม่มีการจัดวางของแต่ละช่อไม่สมดุล

งานที่ได้รับมอบหมาย
-กิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์ที่โรงเรียนสาธิตจันทรเกษม

วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13

วัน เสาร์ ที่ 1 กรกฏาคม 2555

 

* เรียนชดเชย
ได้อบรมกับวิทยากรที่มีความรู้ในการตัดกระดาษและการจัดบอร์ด ทำให้ได้เทคนิคและวิธีการตัดกระดาษและการจัดบอร์ดมากมายในการนำไปใช้ในอนาคต เช่น
-การทำดอกบัว จากกระดาษ
-การทำดอกกุหลาบแบบเชียงใหม่ จากกระดาษ
-การทำดอกไม้เป็นรูปหัวใจ
-การทำใบไม้

งานที่ได้รับมอบหมาย

1. จัดบอร์ด 1 บอร์ด กลุ่ม 3 คน



 

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12

วัน อังคาร ที่ 28 สิงหาคม 2555

- ไม่มีการเรียนการสอน แต่จะสอนชดเชย

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11

วัน อังคาร ที่ 21 สิงหาคม 2555

 - อาจารย์ให้ดูกิจกรรมวิทยาศาสตร์โดยแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 8-10 คน แจกหนังสือกิจกรรมคนละ 1เล่ม




 แนวคิด = แก่น เนื้อหา หรือข้อสรุปที่ใช้เชื่อมโยงในสิ่งที่เกี่ยวข้องกับเรื่องอื่นๆ






* กิจกรรมวิทยาศาสตร์

1. ใครใหญ่

- แนวคิด : น้ำจะถูกแทนที่ด้วยขนาดของมือเราเอง

- ขั้นตอน :

1. นำขวดแก้วใสวางไว้

2. เทน้ำใส่ลงไปครึ่งขวด ทำเครื่องหมายระดับน้ำเอาไว้

3. ให้เด็กกำมือของตนเองหย่อนลงไปในขวดทีละคน

4. ครูทำเตรื่องหมายกำกับของทุกคนไว้

5. ให้เด็กช่วยสรุปผลการทดลอง

- สรุปผล : ระดับน้ำในขวดแก้วใสจะสูงขึ้นมาจากเดิม ตามขนาดเท่ากับฝ่ามือของเด็กแต่ละคน

2. ใบไม้สร้างภาพ

- แนวคิด : สีจากใบไม้สดสามารถสร้างภาพได้เหมือนจริง

- ขั้นตอน :

1. เด็กสังเกตลักษณะของใบไม้ที่เก็บมา

2. นำกระดาษวาดเขียนมาพับแบ่งเป็น 2 ส่วนเท่าๆกัน

3. วางใบไม้ทีละใบระหว่างกระดาษวาดเขียนที่ทับไว้

4. ใช้ค้อนไม้ค่อยๆเคาะบนกระดาษบริเวณที่มีใบไม้

5. เมื่อเปิดกระดาษวาดเขียนออก ให้เด็กๆช่วยหาเหตุผล

- สรุปผล :

1. น้ำสีจากใบไม้สดจะเป็นรูปร่างขึ้นมาบนกระดาษ
 
 2. โครงร่างที่ได้นี้จะเหมือนกับใบไม้ของจริงที่เป็นต้นแบบ

 3. สีจากใบไม้เป็นสีธรรมชาติ ที่เราจะนำไปทำอะไรได้อีกบ้าง

 

3. มาก่อนฝน

- แนวคิด : น้ำเมื่อได้รับความร้อน บางส่วนจะกลายเป็นก๊าซ เรียกว่า ไอน้ำ
 
- ขั้นตอน :

1. นำขวดแก้วที่แช่เย็นเอาไว้ และให้เด็กบอกความรู้สึกที่สัมผัสได้
 
2. เทน้ำอุ่นใส่ขวดประมาณครึ่งขวด วางก้อนน้ำแข็งไว้บนปากขวด
        
3. เด็กสังเกตสิ่งที่เกิดขึ้น
        
4. อาสาสมัครเป่าลมแรงๆเข้าไปในขวดแช่เย็นใบที่ 2        

5. เมื่อหยุดเป่าลมจะเห็นกลุ่มเมฆจางๆ     

- สรุปผล :        

1. เมฆจะก่อตัวขึ้นจากไอน้ำที่อยู่ในขวด ซึ่งควบแน่นเพราะได้รับความเย็นจากน้ำแข็ง        

2. กลุ่มเมฆจางๆในขวดเกิดจากอากาศในขวดขยายตัวและแผ่กระจายต่อไป        

3. สภาพภายในขวดเย็นลง ดังนั้นไอน้ำจากลมหายใจจึงควบแน่นกลายเป็นเมฆหรือละอองน้ำ 

4. ทำให้ร้อน
     
- แนวคิด : แรงเสียดทานเป็นแรงซึ่งพยายามหยุดการลื่นไหลไปบนสิ่งต่างๆ
พลังงานจำเป็นต้องเอาชนะแรงเสียดทาน แรงเสียดทานนี้เป็นความร้อน     

- ขั้นตอน :
        

1. ครูแจกดินสอและหนังสือให้เด็กคนละ 1 ชุด
        
2. ให้เด็กจับดินสอด้วยมือที่ถนัด
        
3. ถูไปมากับสันหนังสือประมาณ 3 วินาที
        
4. นำดินสอส่วนที่ได้ถูกับสันหนังสือไปแตะกับผิวหนัง เช่น แขน ริมฝีปาก เป็นต้น
        
5. เด็กบอกความรู้สึกจากการสัมผัส     

- สรุปผล :
        
1. แรงเสียดทานระหว่างดินสอกับสันหนังสือทำให้เกิดความร้อน
        
2. นำส่วนที่ได้ถูกับสันหนังสือของดินสอมาแตะที่ผิวหนังส่วนใดสว่นหนึ่ง
            
โดยเฉพาะริมฝีปาก จะมีความรู้สึกว่าร้อน

งานที่ได้รับมอบหมาย

- จัดกลุ่ม 4 คน ทำกิจกรรมทดลองวิทยาศาสตร์

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10

วันอังคารที่  14  สิงหาคม พ.ศ. 2555

- ไม่มีการเรียนการสอน แต่จะทำการเรียนชดเชยในวันอาทิตย์ที่ 2 กันยายน 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9

วันอังคารที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2555

- ไม่มีการเรียนการสอน แต่จะทำการเรียนชดเชยในวันอาทิตย์ที่ 25 สิงหาคม 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8

วันอังคารที่ 31 กรกฏาคม พ.ศ. 2555

- ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นการสอบกลางภาค

บันทึกการเรียนรู้คร้งที่ 7

วันอังคารที่ 24 กรกฏาคม พ.ศ. 2555

 วันนี้อาจารย์สอนเรื่องแหล่งการเรียนรู้

* การออกแบบแหล่งการเรียนรรู้

   1. มีการตั้งคำถาม
   2. การวาดรูป
   3. เล่าเรื่องต่อกันไป โดยเป็นพื้นฐานทางวรรณคดี
   4. การทำศิลปะ เช่น โมเดิล

* วิธีการที่เด็กได้เรียนรู้

   1. การนำของจริงมาให้เด็กดู ได้สัมผัสธ์ หรืออาจมีการจัดสภาพแวดล้อมร่วมกัน
   2. การนำรูปภาพ  หรือ VDO มาให้เด็กดู
   3. การพาเด็กไปทัศนศึกษา พาไปดูสถานที่จริง
   4. การพาผู้เชี่ยวชาญมาพูดคุยกัน
   5. การสาธิต หรือการทดลอง ให้เด็กได้ทำเอง

*  การสะท้อนกลับของเด็ก

   1. การเล่นเกม
   2. การจัดนิทรรศการ
   3. การเล่นบทบาทสมมุติ
   4. การแต่งเพลง แต่งนิทาน

งานที่ได้รับมอบหมาย
- แบ่งกลุ่มเขียนแผนการสอนที่ได้รับผิดชอบ
- แบ่งกลุ่มทำฐานวิทยาศาสตร์

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6

วันอังคารที่ 17 กรกฏาคม พ.ศ. 2555

- อาจารย์ให้ส่งงานสื่อวิทยาศาสตร์สำหรับคนที่ยังไม่ได้ส่ง
- อาจารย์ได้สอนเรื่อง
     - การเล่นเป็นการเรียนรู้ของเด็ก
     - การเล่นเป็นสิ่งสำคัญในชีวิตสำหรับเด็ก
     - การเล่นที่ดีควรให้อิสระในการเล่นแก่เด็ก เพราะเด็กจะเล่นในสิ่งที่เขาสนใจจะเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง

การเล่นในวิทยาศาสตร์

- การเล่นเกิดจากการสังเกต ซึ่งเป็นพื้นฐานของวิทยาศาสตร์  โดยผ่านประสาทสัมผัสธ์ทั้ง5
- การเล่นจะมีกระบวนการ ขั้นตอน วิธีการ เป็นลำดับอย่างเห็นได้ชัด ต้องมีการทดลองจริง เห็นได้จริง
- การเล่นจะต้องมีการตั้งเกณฑ์ขึ้นมา เพื่อให้เป็นมาตราฐานที่แน่นอน และจะต้องตั้งเป็นเพียงเกณฑ์ เดียว ห้ามมากกว่านั้น เพราะจะเกิดความสับสน
- มีการใช้คำถาม ในการเล่นเพื่อให้เกิดความเข้าใจ


งานที่ได้รับมอบหมาย
- แบ่งกลุ่มเขียนแผนการสอนในหน่วยที่ได้ส่งคาบหน้า
- งานเดี่ยวเขียนประสบการณ์สำคัญในหน่วยที่ได้รับส่งคาบหน้า

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5


สิ่งที่ได้รับจากการนำเสนอ

- ได้เห็นความหลากหลายของผลงานของเพื่อน
- ได้เห็นข้อบกพร่องของการทำงาน
- ได้นำข้อแนะนำไปแก้ไข

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4


วันที่ 3 กรกรฎาคม 2555
  • ดู VCD  เรื่องวิทยาศาสตร์แสนสนุกสำหรับเด็ก
  • ได้อะไรจากการดู
          -ผักและผลไม้มีน้ำอยู่ 90 เปอร์เซ็น
          - เทคนิคการสอนวิทยาศาสตร์โดยการทดลอง
          - การเรียงลำดับจากเรื่องราวโดยการตั้งคำถาม ใครก่อน ใครหลัง
          - การนำเสนอด้วยภาพแอนิเมชั่น
          - เนื้อหาที่เข้าใจง่ายโดยการทดลอง
          - เนื้อหา คือ น้ำเป็นส่วนหนึ่งในชีวิต - การทดลอง - ยกตัวอย่าง -สรุปเป็นภาพแอนิเมชั่น
     - การเรียงลำดับจากเรื่องราว เรียงจากง่ายไปหายาก
           -น้ำมีอยู่ 3 สถานะ คือ ของแข็ง ของเหลว และก๊าซ
      -คนขาดน้ำภายใน 3 วัน สามารถที่จะเสียชีวิตได้
            -ได้เห็นเทคนิควิธีการสอนและสื่อการสอน
            -การใช้คำถามในการจัดการเรียนการสอน
            -การใช้ตัวอย่าง
            -การใช้สื่อประกอบการเรียนการสอน
  • สิ่งที่ได้รับจากการดู VDO
     

งานมอบหมาย
  • ให้ผลิตสื่อเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ที่ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง
  • ให้ทำของเล่นเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และนำมาสอนน้องทำ

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3

วันที่ 26 มิถุนายน  2555
 
ขั้นอนุรักษ์  คือ ขั้นที่เด็กยังตอบตามที่ตาเห็น
 
วิทยาศาสตร์  คือ สิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวเด็ก
 
กิจกรรมการเรียนการสอน






งานที่มอบหมาย
  • จับกลุ่ม5คน เลือก 1 หน่วย ให้ไปถามโรงเรียนสาธิตเกี่ยวกับการเรียนของเด็กอนุบาล  และเมื่อได้หัวข้อแล้ว  นำมาแตกเป็น Mapping และส่งในอาทิตย์หน้า

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2

วันที่ 19  มิถุนายน  2555

        
เรียนรู้   เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เมื่อแสดงออกมาคือการเรียนรู้

        รับรู้    การนั่งเรียนเฉยๆไม่ตอบโต้ เป็นพฤติกรรมในลักษณะของกิริยา

        การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย  โดยแบ่งออกมาเป็น
  • เด็กปฐมวัย = ต้องรู้พัฒนาการของเด็ก 3ปี 4ปี 5ปี  ว่าเป็นอย่างไรเพื่อที่จะได้จัดประสบการณ์ให้เด็กได้อย่างถูกต้อง
          ในเรื่องนี้จะเน้นด้านสติปัญญา  ประกอบไปด้วย   ภาษา  การคิด(คิดแบบสร้างสรรค์กับคิดแบบเชิงเหตุผล)  คิดเชิงเหตุผล ประกอบด้วย คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์
       
           วิธีการเรียนรู้ = เด็กเลือกเล่นอย่างอิสระ
                                = การใช้ประสาทสัมผัสธ์ทั้ง5กระทำกับวัตถุ  (ตา/ดู  หู/ฟัง  จมูก/ดมกลิ่น  ลิ้น/ชิมรส  กาย/สัมผัส)
  • วิทยาศาสตร์= แบ่งออกเป็น  สาระสำคัญ กับ ทักษะทางวิทยาศาสตร์
           สาระสำคัญ - เรื่องราวเกี่ยวกับเด็ก   บุคคลสถานที่และสิ่งแวดล้อม  ธรรมชาติรอบตัว  สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก
           ทักษะทางวิทยาศาสตร์ - ทักษะการสังเกต  ทักษะการจำแนกประเภท  ทักษะการสื่อความหมาย  ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล  ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่กับพื้นที่และพื้นที่กับเวลา ทักษะการคำนวณ

           ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เด็กปฐมวัย - การสังเกต  การจำแนกเปรียบเทียบ         การวัด  การสื่อสาร  การทดลอง  การสรุปและนำไปใช้
  • การจัดประสบการณ์  - ทฤษฎีการจัดประสบการณ์   หลักการจัดประสบการณ์  กระบวนการจัดประสบการณ์  เทคนิคการจัดประสบการณ์   สื่อและสภาพแวดล้อมที่สนุบสนุนในการจัดประสบการณ์  การประเมินผล
  • กิจกรรมการเรียนการสอน
งานที่ได้มอบหมาย
  • หาสติปัญญาด้านวิทยาศาสตร์ของเด็กอายุ4ขวบ
  • หาสิ่งของ1อย่างที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ที่จะสอนเด็กมา1อย่างและจับกลุ่ม4คน ทำเป็นMapping บอก - ลักษณะ
                                  - ประโยชน์
                                  - โทษ
                                  - วิธีการเก็บรักษา

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 1

วันที่ 12   มิถุนายน  2555
  • อาจารย์ได้เข้ามาปฐมนิเทศน์ ให้กับนักศึกษาทุกคน
  • พูดถึงการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยในเบื้องต้น

งานที่มอบหมาย

  • ให้ไปหามาตราฐานวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย และลิงค์ใส่ในบล็อกของตนเอง
  • ให้สร้างบล็อกของตนเองขึ้น
  • ให้ดูโทรทัศน์ครูมา 1 เรื่อง ที่เกี่ยวกับการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์
           (ซ้ำกันได้ไม่เกิน 5 คน)