วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11

วัน อังคาร ที่ 21 สิงหาคม 2555

 - อาจารย์ให้ดูกิจกรรมวิทยาศาสตร์โดยแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 8-10 คน แจกหนังสือกิจกรรมคนละ 1เล่ม




 แนวคิด = แก่น เนื้อหา หรือข้อสรุปที่ใช้เชื่อมโยงในสิ่งที่เกี่ยวข้องกับเรื่องอื่นๆ






* กิจกรรมวิทยาศาสตร์

1. ใครใหญ่

- แนวคิด : น้ำจะถูกแทนที่ด้วยขนาดของมือเราเอง

- ขั้นตอน :

1. นำขวดแก้วใสวางไว้

2. เทน้ำใส่ลงไปครึ่งขวด ทำเครื่องหมายระดับน้ำเอาไว้

3. ให้เด็กกำมือของตนเองหย่อนลงไปในขวดทีละคน

4. ครูทำเตรื่องหมายกำกับของทุกคนไว้

5. ให้เด็กช่วยสรุปผลการทดลอง

- สรุปผล : ระดับน้ำในขวดแก้วใสจะสูงขึ้นมาจากเดิม ตามขนาดเท่ากับฝ่ามือของเด็กแต่ละคน

2. ใบไม้สร้างภาพ

- แนวคิด : สีจากใบไม้สดสามารถสร้างภาพได้เหมือนจริง

- ขั้นตอน :

1. เด็กสังเกตลักษณะของใบไม้ที่เก็บมา

2. นำกระดาษวาดเขียนมาพับแบ่งเป็น 2 ส่วนเท่าๆกัน

3. วางใบไม้ทีละใบระหว่างกระดาษวาดเขียนที่ทับไว้

4. ใช้ค้อนไม้ค่อยๆเคาะบนกระดาษบริเวณที่มีใบไม้

5. เมื่อเปิดกระดาษวาดเขียนออก ให้เด็กๆช่วยหาเหตุผล

- สรุปผล :

1. น้ำสีจากใบไม้สดจะเป็นรูปร่างขึ้นมาบนกระดาษ
 
 2. โครงร่างที่ได้นี้จะเหมือนกับใบไม้ของจริงที่เป็นต้นแบบ

 3. สีจากใบไม้เป็นสีธรรมชาติ ที่เราจะนำไปทำอะไรได้อีกบ้าง

 

3. มาก่อนฝน

- แนวคิด : น้ำเมื่อได้รับความร้อน บางส่วนจะกลายเป็นก๊าซ เรียกว่า ไอน้ำ
 
- ขั้นตอน :

1. นำขวดแก้วที่แช่เย็นเอาไว้ และให้เด็กบอกความรู้สึกที่สัมผัสได้
 
2. เทน้ำอุ่นใส่ขวดประมาณครึ่งขวด วางก้อนน้ำแข็งไว้บนปากขวด
        
3. เด็กสังเกตสิ่งที่เกิดขึ้น
        
4. อาสาสมัครเป่าลมแรงๆเข้าไปในขวดแช่เย็นใบที่ 2        

5. เมื่อหยุดเป่าลมจะเห็นกลุ่มเมฆจางๆ     

- สรุปผล :        

1. เมฆจะก่อตัวขึ้นจากไอน้ำที่อยู่ในขวด ซึ่งควบแน่นเพราะได้รับความเย็นจากน้ำแข็ง        

2. กลุ่มเมฆจางๆในขวดเกิดจากอากาศในขวดขยายตัวและแผ่กระจายต่อไป        

3. สภาพภายในขวดเย็นลง ดังนั้นไอน้ำจากลมหายใจจึงควบแน่นกลายเป็นเมฆหรือละอองน้ำ 

4. ทำให้ร้อน
     
- แนวคิด : แรงเสียดทานเป็นแรงซึ่งพยายามหยุดการลื่นไหลไปบนสิ่งต่างๆ
พลังงานจำเป็นต้องเอาชนะแรงเสียดทาน แรงเสียดทานนี้เป็นความร้อน     

- ขั้นตอน :
        

1. ครูแจกดินสอและหนังสือให้เด็กคนละ 1 ชุด
        
2. ให้เด็กจับดินสอด้วยมือที่ถนัด
        
3. ถูไปมากับสันหนังสือประมาณ 3 วินาที
        
4. นำดินสอส่วนที่ได้ถูกับสันหนังสือไปแตะกับผิวหนัง เช่น แขน ริมฝีปาก เป็นต้น
        
5. เด็กบอกความรู้สึกจากการสัมผัส     

- สรุปผล :
        
1. แรงเสียดทานระหว่างดินสอกับสันหนังสือทำให้เกิดความร้อน
        
2. นำส่วนที่ได้ถูกับสันหนังสือของดินสอมาแตะที่ผิวหนังส่วนใดสว่นหนึ่ง
            
โดยเฉพาะริมฝีปาก จะมีความรู้สึกว่าร้อน

งานที่ได้รับมอบหมาย

- จัดกลุ่ม 4 คน ทำกิจกรรมทดลองวิทยาศาสตร์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น